ยินดีตอนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของนูนู่ ผู้เข้าสามารถดูรายละเอียดการนำเสนอมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาได้

Wait a Minute

รายงานจิตวิทยาการเรียนการสอน

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความรู้เรื่องสี

สีแบ่งออกเป็น 2 โทนคือ
  1.  โทนร้อน
  2.  โทนเย็น

ชุดของโทนสีมีด้วยกัน 6 ชุดสี 
สีโทนเย็น มีด้วยกัน 3 ชุดสี คือ
ชุดที่ 1        ดำ             น้ำเงิน          เขียวแก่       
  
 ชุดที่ 2        น้ำเงิน       เขียวแก่        เขียวอ่อน

 ชุดที่ 3        เขียวแก่     เขียวอ่อน     เหลือง    

สีโทนร้อนมีด้วยกัน 3 ชุดสีคือ
ชุดที่ 4       เหลือง        ส้ม               แดง              
 ชุดที่ 5       ส้ม              แดง            น้ำตาล         
 ชุดที่ 6       แดง            น้ำตาล         ดำ              


สีชุดพิเศษ 
      คือ ฟ้า  ชมพู ม่วง
 สี Tint  =  Hue + White  คือ สีแท้ + ขาว
       สีฟ้าสีน้ำเงิน + ขาว
       สีชมพู = สีแดง + ขาว 
  สี  Shape  = Hue + black  คือ สีแท้ + ดำ
       สีม่วง  = สีแดง + ดำ

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการวาดภาพลายเส้น

การวาดลายเส้น: คือ ภาพวาดที่เป็นเส้นอาจมีความสมบูรณ์ในตนเองหรือแต่งเติมด้วยการลงแสงเงาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นใน การวาดลายเส้นเราควรจะมารู้จักกับอุปกรณ์ในการวาดลายเส้นอุปกรณ์ที่ใช้ในการ เขียนลายเส้นที่เป็นพื้นฐานของการสร้างงานศิลปะที่เรียกว่า ทัศนศิลป์ หลายๆคนที่เคยสอบเอ็นทรานซ์คงรู้ดีว่าเป็นการวาดอย่างไร เราลองมารู้จักกับอุปกรณ์กันก่อนที่จะรู้จักหลักเทคนิคในการวาดต่อไป
อุปกรณ์ (Materials) เป็นอุปกรณ์ในการวาดทั่วไปที่ใช้ในทัศนศิลป์
    1. ดินสอดำ ในการวาดควรใช้เฉพาะขนาดตั้งแต่ 5B จนถึง EE เพราะมีความเข้มมาก ขนาดที่ต่ำกว่านี้ถ้าหากแรเงาจะเกิดความมันเลื่อม สะท้อนทำให้ภาพดูไม่ชัดเจน
    2. ปากกาหมึกซึม เป็นปากกาใช้จุ่มหรือมีหมึกในตัวก็ได้ จุดเด่นของการใช้ปากกาคือ จะทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวา
    3. ปากกาหมึกแห้ง สะดวกในการใช้จะให้เส้นออกมามีความสนุกสนานอิสระ
    4. แท่งถ่าน เป็นแท่งถ่านที่ขายตามร้านเครื่องเขียนทั่วไป

อุปกรณ์ทั่วไป (Natural Meterials)
    1. กระดานรองเขียน
    2. ตัวหนีบ
    3. ยางลบ
    4. มีดเหลาดินสอ
    5. กระดาษทราย ถ้าจะให้สะดวกในการใช้ควรหาไม้สี่เหลี่ยมเล็กมารองแผ่นกระดาษทราย
    6. กระดาษปรู๊ฟ คือ กระดาษเนื้อบางลักษณะเหมือนกับกระดาษที่ใช้ม้วนยาสูบ
    7. กระดาษ 100 ปอนด์

เทคนิคการฝึกความแม้นยำในการวาดมีดังต่อไปนี้
   1. การขีดเส้นตรงในแนวนอนและแนวตั้งให้เส้นมีชองไฟเท่าๆกัน
   2. การขีดเส้นตรงให้ลงน้ำหนักมือและผ่อนลงไปจะได้เส้นที่มีลักษณะคล้ายดาวตก
   3. การขีดเส้นตาข่ายให้ช่องไฟเท่ากันในทุกทิศทาง
   4. การไล่น้ำหนักเงาจากอ่อนไปหาแก่และจากแก่ไปหาอ่อน
   5. การลากเส้นเป็นเลขแปดอย่างต่อเนื่อง

ความรู้เรื่องแม่สี

วงจรสี (Colour Wheel)
วงจรสี คือ สีที่เกิดจากการผสมกันเป็นคู่ เริ่มตั้งแต่ แม่สี 3 สี แล้วเกิดเป็นสีใหม่ขึ้นมา จนครบวงจร จะได้สีทั้งหมด 12 สี ซึ่งแบ่งสีเป็น 3 ขั้นคือ
1.1 สีขั้นที่ 1 (Primary Colours) คือ แม่สี 3สี ได้แก่ สีแดง เหลือง และน้ำเงิน
1.2 สีขั้นที่ 2 (Secondary Colours) คือ สีที่เกิดจากการผสมกันเป็นคู่ๆ ระหว่างแม่สี 3 สี จะได้สีเพิ่มขึ้นอีก 3สี
1.3 สีขั้นที่ 3 (Tertiary Colours) คือ สีที่เกิดจากการผสมกันเป็นคู่ๆ ระหว่างแม่สี 3 สี กับสีขั้นที่ 2 จะได้สีเพิ่มขึ้นอีก 6สี
1.4 สีกลาง (Neutral Colour) คือ สีที่เกิดการผสมสีทุกสี ในวงจรสี หรือ แม่สี 3สี ผสมกัน จะได้สีเทาแก่ สีทั้ง 3ขั้น เมื่อนำมาจัดอยู่เป็นวงจรจะได้ลักษณะเป็นวงล้อสี

1.5 สีพิเศษ ได้แก่ สี ชมพู ฟ้า ม่วง




สีตรงข้าม (Comprementary Colour)
สีตรงข้าม หมายถึง สีที่อยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกันในวงจรสี และมีการตัดกันอย่างเด่นชัดซึ่งจะให้ความรู้สึกที่ขัดแย้งกัน หากนำมาผสมกันจะได้สีกลาง (เทา) ซึ่งมีทั้งหมด 6คู่ ได้แก่
- สีเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วง
- สีแดง ตรงข้ามกับ สีเขียว
- สีน้ำเงิน ตรงข้ามกับ สีส้ม
- สีเขียวเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วงแดง
- สีส้มแดง ตรงข้ามกับ สีเขียวน้ำเงิน
- สีม่วงน้ำเงิน ตรงข้ามกับ สีส้มเหลือง

สีข้างเคียง ( Analogous Colour)
สีข้างเคียง หมายถึง สีที่อยู่เคียงข้างกันทั้งซ้ายและขวาในวงจรสี มีความคล้ายคลึงกันหากนำมาจัดอยู่ด้วยกันจะมีความกลมกลืนกัน หากอยู่ห่างกันมากเท่าใดความกลมกลืนก็จะยิ่งน้อยลงความขัดแย้งก็จะมีมากขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นสี ในวรรณะเดียวกัน (ภาพที่ 6) สีข้างเคียงได้แก่
- สีแดง - ส้มแดง - ส้ม หรือ ม่วงแดง -แดง - ส้มแดง
- สีส้มเหลือง - เหลือง - เขียวเหลือง หรือ ส้มแดง - ส้ม - ส้มเหลือง
- สีเขียว - เขียวน้ำเงิน - น้ำเงิน หรือ เขียวน้ำเงิน - เขียว - เขียวเหลือง
- สีม่วงน้ำเงิน - ม่วง - ม่วงแดง หรือ ม่วงน้ำเงิน- น้ำเงิน - เขียวน้ำเงิน

ความรู้เรื่องรูปภาพ

รูปภาพแบ่งได้ 3 ประเภทคือ
1.  Realistic (ภาพเหมือนจริง)


2. Distrotion (ภาพบิดเบือน/ ลดตัดทอน) ล้อเลียนของจริง


3. Abstract (ภาพแบบนามธรรม , ภาพจินตนาการ)



เทคนิคขั้นพื้นฐานของการวาดภาพ
   1. การกำหรดจุดเพื่อกำหนดขนาด
   2. ลากเส้นจากภายนอกก่อนภายใน
   3. การแรเงาเก็บรายละเอียด

สิ่งที่คำนึงถึงการวาดภาพ
  1.  ขนาดต้องใกล้เคยงกับต้นฉบับ
  2.  ห้ามซ้ำเส้น หรือย้ำเส้น
  3.  ห้ามลากเส้นขนแมว
  4.  ห้ามใช้ดินสอ ยางลบและลิขวิด

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

เรียนรู้เว็บบล็อก (webblog)


รายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์สุจิตตรา  จันทร์ลอย
ปีการศึกษา 2553


นางสาวสุรีย์พร  ปาเจริญ  หมู่ 2 รุ่น 13  เลขที่ 32  
ป.บัณฑิตวิชาชีพครู

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นางสาวสุรีย์พร  ปาเจริญ 
ชื่อเล่น  หนู
วันเกิด 27 ตุลาคม 2527
ที่อยู่  39  หมู่ 4 ต.คุ้งกระถิน อ.เมือง  จ.ราชบุรี  70000
เบอร์โทร  086-1742097
การศึกษา จบจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  สาขา เทคโนโลยีสารสนเทศ   คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัจจุบัน กำลังศึกษา วิชาป.บัณฑิตวิชาชีพครู
การทำงาน  กำลังฝึกสอนอยู่โรงเรียนวัดเขาวัง (แสง  ช่วงสุวนิช) จ.ราชบุรี


ภาพกิจกรรมพัฒนา

วันภาคภูมิใจ